>> เฉลยแบบฝึกหัด หน่วยที่ 1 ความรู้เบื้องต้นเรื่องฐานข้อมูล

1.                 ความหมายของข้อมูล  (Data)    (2 คะแนน)
                    หมายถึง ข้อเท็จจริงหรือเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน ซึ่งอาจเป็นข้อเท็จจริงเกี่ยวกับบุคคล สถานที่ สัตว์ สิ่งของ และอื่น ๆ  มีการรวบรวมข้อมูล จัดเก็บ และตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลเสียก่อน แล้วนำข้อมูลเหล่านั้นไปประมวลผลออกมาเป็นสารสนเทศ (Information)  สามารถนำไปใช้ในการตัดสินใจเรื่องใดเรื่องหนึ่งได้อย่างถูกต้อง แม่นยำ

2.               ข้อมูลมี 5  ชนิด คือ     (5 คะแนน)
           1.   ข้อมูลเฉพาะ (Predefined Data Items) คือ ข้อมูลที่มีลักษณะเป็นตัวเลขหรือตัวอักษรที่มีการระบุรูปแบบและความหมายไว้อย่างชัดเจน นำไปใช้ควบคุมการคำนวณ และควบคุมการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลนั้น เช่น หมายเลขบัตรเครดิต  หมายเลขบัตรเอทีเอ็ม  
3.        ข้อความ (Text) คือ ข้อมูลที่มีการจัดเรียงกันของตัวอักษร ตัวเลข และอักขระอื่น ๆ ซึ่งมี
ความหมายในตัวเอง เช่น ชื่อคน ชื่อสินค้าลักษณะเฉพาะของสินค้า แต่จะไม่มีรูปแบบที่แน่นอน
4.          อิมเมจ (Image)  คือ  ข้อมูลที่อยู่ในรูปแบบของรูปภาพ  เช่น ภาพถ่าย ภาพวาด 
กราฟที่เกิดจากการประมวลผลตัวเลข  ข้อมูลประเภทนี้สามารถจัดเก็บ แก้ไขปรับปรุง และถ่ายโอน    ได้หลายวิธี  เช่น การแก้ไขขนาด  การปรับสี แสงเงา การเปลี่ยนชนิดของรูปภาพ
5.         ออดิโอ (Audio) คือ ข้อมูลที่เป็นรูปแบบเสียง หรือข้อความเสียง  เช่น เสียงที่ได้จาก
การตรวจด้วยเครื่องมือแพทย์ 
6.         วีดีโอ( Video)  คือ ข้อมูลที่เกิดจากการรวมทั้งภาพและเสียงเข้าด้วยกัน เช่น การ
ประชุมทางไกล  (Video Conference)

 3.              โครงสร้างของข้อมูลจากโครงสร้างที่เล็กที่สุดไปหาโครงสร้างที่ใหญ่ที่สุด     (3 คะแนน)

4.  ความหมายของฐานข้อมูล    (2 คะแนน)
ฐานข้อมูล หมายถึง กลุ่มของแฟ้มข้อมูลที่มีความสัมพันธ์กัน นำมาเก็บรวบรวมไว้ในที่เดียวกันอย่างเป็นระบบ มีการปรับปรุงข้อมูล  วิเคราะห์ข้อมูล  มีการนำข้อมูลไปใช้งาน การนำเสนอ   ข้อมูลในรูปแบบรายงานต่าง ๆ  และมีการใช้ข้อมูลร่วมกันทั้งองค์กร

5.  ความสำคัญของฐานข้อมูลด้านต่าง  (5 คะแนน)
1.     ด้านธุรกิจ  เพิ่มประสิทธิภาพให้แก่ธุรกิจทุกด้าน เช่น ฐานข้อมูลลูกค้าสำหรับการ
ให้บริการที่เป็นเลิศแก่ลูกค้า มีฐานข้อมูลสินค้าที่สามารถตรวจสอบ ค้นหาได้อย่างรวดเร็ว ออกรายงานการวิเคราะห์ยอดขายสินค้าให้ผู้บริหารใช้ในการตัดสินใจ
2.     ด้านการศึกษา เช่น ฐานข้อมูลครู นักเรียน หลักสูตร ผลการเรียน วัสดุ ครุภัณฑ์
3.     ด้านการบริหารราชการ เช่น ฐานข้อมูลประชากร  ฐานข้อมูลภาษีอากร
4.     ด้านสาธารณสุข เช่น ฐานข้อมูลผู้ป่วย ฐานข้อมูลบุคลากร 
5.    ด้านอื่น ๆ เช่น ฐานข้อมูลพยากรณ์อากาศ  ฐานข้อมูลห้องสมุด                                                                                  

6.  ประโยชน์ของฐานข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับผู้ใช้ 5 ข้อ   (5 คะแนน)
1.  ลดความซ้ำซ้อนของข้อมูล เพราะไม่ต้องจัดเก็บข้อมูลที่ซ้ำซ้อนกัน แฟ้มข้อมูลที่
แต่ละฝ่ายมีเหมือนกันก็เลือกเก็บเพียงแฟ้มเดียวแต่สามารถใช้ข้อมูลร่วมกันได้ทุกฝ่าย
2.   ผู้ใช้ใช้ข้อมูลร่วมกันได้ทุกหน่วยงานภายในองค์กรเดียวกัน
3.   ผู้ใช้ใช้ข้อมูลชุดเดียวกันในฐานข้อมูลเดียวกันได้
4.   ผู้ใช้เข้าใจความหมายและสื่อสารร่วมกันได้
5.   ผู้ใช้สามารถใช้ฐานข้อมูลของผู้ใช้แต่ละคนได้แตกต่างกันตามความรับผิดชอบ

7.   ข้อดี   ข้อเสียของฐานข้อมูล     (10 คะแนน)

ข้อดี
ข้อเสีย
ข้อมูลมีความซ้ำซ้อนกันน้อยที่สุด 
ระบบเสี่ยงต่อการหยุดชะงัก
ข้อมูลเป็นอิสระจากกัน
ต้องมีการสำรองข้อมูลไว้ เพราะอาจต้องสูญเสียข้อมูลทั้งระบบได้
มีการใช้ข้อมูลร่วมกัน
มีค่าใช้จ่ายสูง
ข้อมูลปลอดภัย  และมีมาตรฐาน
เสียค่าใช้จ่ายในการอบรมผู้ใช้ก่อนใช้ฐานข้อมูลร่วมกัน
ผู้ใช้มีความมั่นใจในการใช้ข้อมูล
มีความซับซ้อนในระยะแรกของการใช้ฐานข้อมูล

8.   ความหมายของระบบฐานข้อมูล    (2 คะแนน)
ระบบฐานข้อมูล  หมายถึง  การจัดเก็บข้อมูลอย่างเป็นระบบ ตั้งแต่การออกแบบ การสร้าง และการจัดการฐานข้อมูล เช่น การเพิ่มการลบข้อมูล การแก้ไขข้อมูล  และการเรียกใช้ข้อมูล ข้อมูลที่จัดเก็บจะมีความสัมพันธ์กันใช้สนับสนุนการดำเนินงานของทั้งองค์กร

9..  พัฒนาการของฐานข้อมูล (5  คะแนน)
                1.   ฐานข้อมูลบนเว็บ (Web Database)  คือ การสร้างเว็บเพจที่ผู้ใช้สามารถเลือกดูในสิ่งที่ต้องการได้   มีการนำฐานข้อมูลมาประยุกต์กับการสร้างเว็บเพจ ทำให้เว็บเพจมีความสามารถเพิ่มขึ้นมาก เช่น ผู้ใช้สามารถป้อนข้อความแสดงความคิดเห็นบนเว็บได้  หรือที่เรียกว่า เว็บบอร์ด
2.    ฐานข้อมูลข้อความและรูปภาพ คือ ฐานข้อมูลข้อความ คือ กลุ่มของเอกสารที่ได้รับการเก็บไว้ในฐานข้อมูล โดยที่แต่ละเอกสารและเนื้อความในเอกสารสามารถถูกค้นหาได้โดยอาศัย Catalog หรือบัญชีรายชื่อของสิ่งต่างๆ ที่อยู่ภายในเอกสารนั้นๆ ใช้กับการค้นหาข้อมูลบนเว็บ
ฐานข้อมูลรูปภาพ คือ ฐานข้อมูลที่ใช้เก็บรายละเอียดต่าง ๆ เกี่ยวกับรูปภาพ สามารถแสดงภาพของสิ่งต่างๆ ได้ตามต้องการ                                              
3.   ฐานข้อมูลแบบกระจาย  คือ  การกระจายการจัดเก็บข้อมูลไว้หลายๆ สถานที่ เรียกว่า  “Site” ซึ่งแต่ละ Site จะมีเครื่องคอมพิวเตอร์และระบบฐานข้อมูลที่เป็นของตนเอง เพื่อรองรับการใช้งานต่างๆ ของผู้ใช้ มีการเชื่อมต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์ของ Site อื่น ด้วยเครือข่ายคอมพิวเตอร์ เพื่อส่งถ่ายข้อมูลไปมาระหว่างฐานข้อมูลของ Site ต่างๆ
4.    คลังข้อมูล   คือ ฐานข้อมูลที่จัดเก็บข้อมูลที่ได้มาจากการสกัดข้อมูลจากฐานข้อมูลอื่น  ซึ่งอาจจะมี โครงสร้างแตกต่างกันหรืออยู่บนระบบปฏิบัติการที่แตกต่างกัน
               5.   เหมืองข้อมูล คือ  การค้นหาความรู้ในฐานข้อมูล      (Knowledge  Discovery  in  Databases - KDD)  ค้นหารูปแบบ (Pattern) จากข้อมูลจำนวนมหาศาลโดยอัตโนมัติ โดยใช้ขั้นตอนวิธีจากวิชาสถิติ การเรียนรู้ของเครื่อง และ การรู้จำแบบ

10.   ความหมายของสถาปัตยกรรมฐานข้อมูล (2 คะแนน)
สถาปัตยกรรมฐานข้อมูล หมายถึง แนวคิดที่ใช้อธิบายโครงสร้างองค์ประกอบหลักของระบบข้อมูลภายในระบบฐานข้อมูล การจัดเก็บข้อมูลในฐานข้อมูล รวมถึงการติดต่อกับส่วนอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

11.  วัตถุประสงค์ของการแบ่งสถาปัตยกรรมฐานข้อมูลเป็น  3  ระดับ    (3 คะแนน)
1.  ผู้ใช้งานไม่จำเป็นต้องสนใจรายละเอียดเกี่ยวกับโครงสร้างของการจัดเก็บข้อมูลไม่ว่าโครงสร้างจะจัดเก็บข้อมูลจะเป็นแบบใด เป็นหน้าที่ของ DBMS เป็นตัวจัดการ
2.  ผู้ใช้งานแต่ละคนสามารถเข้าถึงข้อมูลชุดเดียวกัน แต่อาจจะต้องการนำเสนอข้อมูล  หรือแสดงมุมมองของข้อมูลที่แตกต่างกัน รวมทั้งการการแสดงข้อมูลก็จะแสดงข้อมูลเพียงบางส่วนเท่าที่จำเป็นต่อการใช้งานเท่านั้นโดยไม่มีความจำเป็นที่จะต้องแสดงข้อมูลให้ดูทั้งหมด
3.  ความอิสระของข้อมูล คือ ไม่ต้องแก้ไขโปรแกรมทุกครั้งที่มีการเปลี่ยนแปลงของโครงสร้างข้อมูล เช่น กรณีต้องการเพิ่มความกว้างของข้อมูลจาก 15 เป็น 20 เมื่อเปลี่ยนแปลงแล้วจะไม่ส่งผลกระทบใดๆ เพราะมีความอิสระในข้อมูลของแต่ละระดับแล้ว
12.  ความหมายของ   Three-Level Architecture    (2 คะแนน)
Three-Level Architecture คือ การกำหนดสถาปัตยกรรมฐานข้อมูลให้มี 3 ระดับ ประกอบด้วย ระดับภายใน (Internal level) ระดับแนวคิด (Conceptual level) และระดับภายนอก (External level)

13.   ระดับของสถาปัตยกรรมฐานข้อมูลจากภาพ   (3 คะแนน)
14. แบบจำลองฐานข้อมูลแบบสัมพันธ์                                                                                   (3 คะแนน)

เป็นแบบจำลองฐานข้อมูลที่นำเสนอข้อมูล และความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูลในรูป รีเลชัน (Relation) ซึ่งนำเสนอในรูปของตารางโครงสร้างของฐานข้อมูลแบบสัมพันธ์เป็นการนำเสนอข้อมูล และความสัมพันธ์   ระหว่างข้อมูลในรูปรีเลชัน เรียกอีกอย่างหนึ่งว่าตาราง (Table) 
โครงสร้างประกอบด้วย
   -   คีย์หลัก (Primary key) เป็นแอททริบิวต์ หรือกลุ่มของ แอททริบิวต์ ที่บ่งบอกว่าข้อมูลจะต้องไม่ซ้ำกันในแต่ละแถวข้อมูลของตาราง
   -  แถว (Row) หรือ ทูเพิล (Tuple) คือ แถวข้อมูลในตาราง โดยแต่ละแถวของข้อมูลจะประกอบไปด้วยหลายแอททริบิวต์ (Attribute) หรือคอลัมน์ของข้อมูล  
   -  สดมภ์ (Column) ได้แก่  คุณลักษณะของข้อมูลในแต่ละแถวซึ่งเรียกว่าแอททริบิวต์
 ลักษณะเด่น
   -  เหมาะกับงานที่เลือกดูข้อมูลแบบมีเงื่อนไขหลายคีย์ฟิลด์ข้อมูล
   - ป้องกันข้อมูลถูกทำลายหรือแก้ไขได้ดี เนื่องจากโครงสร้างแบบสัมพันธ์นี้ผู้ใช้จะไม่ทราบว่าการเก็บข้อมูลในฐานข้อมูลอย่างแท้จริงเป็นอย่างไร
   -   การเลือกดูข้อมูลทำได้ง่าย มีความซับซ้อนของข้อมูลระหว่างแฟ้มต่าง ๆ น้อยมาก
  ข้อจำกัด
     -  มีการแก้ไขปรับปรุงแฟ้มข้อมูลได้ยาก เพราะผู้ใช้จะไม่ทราบการเก็บข้อมูลในฐานข้อมูลอย่างแท้จริงเป็นอย่างไร
     -  มีค่าใช้จ่ายของระบบสูงมาก เพราะเมื่อมีการประมวลผล คือ การอ่าน เพิ่มเติม ปรับปรุง หรือยกเลิกระบบจะต้องทำการสร้างตารางขึ้นมาใหม่