>> แบบทดสอบก่อนเรียน หน่วยที่ 1 ความรู้เบื้องต้นเรื่องฐานข้อมูล


คำชี้แจง ข้อสอบมีทั้งหมด  20  ข้อ ให้ทำทุกข้อ

คำสั่ง     จงอ่านคำถามให้รอบคอบทุกข้อ  แล้วเลือกคำตอบที่ถูกที่สุดจากตัวเลือกที่กำหนดให้

             เพียงตัวเลือกเดียวโดยการทำเครื่องหมาย Î ลงในกระดาษคำตอบให้ตรงกับข้อที่เลือก

1.
ข้อใดคือความหมายของข้อมูล
ก.
ข้อมูลที่ประมวลผลเป็นสารสนเทศ               
ข.
ข้อเท็จจริงที่พิสูจน์ได้กลั่นกรองแล้ว
ค.
ข้อความที่ใช้แทนคน สัตว์ และสิ่งของ
ง.
ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับทุกสิ่งหรือเหตุการณ์ต่าง ๆ 
2.
ออดิโอ (Audio)  คือข้อมูลชนิดใด
ก.
ภาพ
ข.
เสียง
ค.
ข้อความ
ง.
ภาพและเสียง
3.
ข้อใดคือหน่วยของโครงสร้างข้อมูลที่เล็กที่สุด
ก.
สมหญิง  งามน้ำใจ
ข.
55.5 %          
ค.
99.99
ง.
0    1
4.
ข้อใด คือความหมายของฐานข้อมูล
ก.
กลุ่มของแฟ้มข้อมูลที่มีความสัมพันธ์กันนำมารวบรวมไว้ด้วยกันเพื่อใช้ข้อมูลร่วมกัน
ข.
กลุ่มของแฟ้มข้อมูลที่เป็นเรื่องเดียวกันเพื่อใช้งานร่วมกัน
ค.
การรวบรวมแฟ้มข้อมูลที่ซ้ำกันไว้ด้วยกัน
ง.
ข้อมูลที่เหมือนกันนำมารวมกัน


 5.
การเก็บข้อมูลที่แต่ละฝ่ายมีเหมือนกันเพียงแฟ้มเดียวแต่ทุกฝ่ายสามารถใช้ข้อมูลร่วมกัน
ได้เป็นประโยชน์ของฐานข้อมูลในข้อใด
ก.
การลดความซ้ำซ้อนของข้อมูล
ข.
การลดความขัดแย้งการจัดเก็บข้อมูล
ค.
ความเป็นมาตรฐานเดียวกันของข้อมูล
ง.
ความเป็นอิสระของข้อมูลจากโปรแกรม
6.
ข้อใดคือข้อดีของการใช้ฐานข้อมูล
ก.
ต้นทุนสูง
ข.
มีความซับซ้อน
ค.
เกิดการสูญเสียข้อมูล
ง.
มั่นใจในการนำไปใช้งาน
7.
ข้อใดคือความหมายของระบบฐานข้อมูล
ก.
การจัดเก็บข้อมูลไว้ด้วยกัน
ข.
การเก็บรักษาข้อมูลที่มีความปลอดภัยสูง
ค.
การจัดเก็บข้อมูลที่มีความสัมพันธ์กันไว้ในที่เดียวกัน
ง.
การเขียนโปรแกรมระบบการจัดเก็บข้อมูลที่ให้ผู้ใช้เข้าใช้ได้ง่าย
8.
ข้อใดคือองค์ประกอบของระบบฐานข้อมูลที่ทำหน้าที่เป็นสื่อกลางระหว่างผู้ใช้และข้อมูลที่ถูกจัดเก็บในสื่อต่าง ๆ
ก.
Data
ข.
Software
ค.
Hardware
ง.
Procedures
 9.
พัฒนาการระบบฐานข้อมูลที่นำฐานข้อมูลที่ได้มาจากการสกัดข้อมูลจากฐานข้อมูลอื่นซึ่งอาจจะโครงสร้างแตกต่างกันหรืออยู่บนระบบปฏิบัติการที่แตกต่างกัน เพื่อใช้ในการ
วิเคราะห์และตัดสินใจเชิงธุรกิจ คือพัฒนาการของระบบฐานข้อมูลในข้อใด
ก.
คลังข้อมูล
ข.
เหมืองข้อมูล
ค.
ฐานข้อมูลบนเว็บ
ง.
ฐานข้อมูลแบบกระจาย

10.
ข้อใดคือความหมายของสถาปัตยกรรมฐานข้อมูล
ก.
การสร้างรูปแบบของข้อมูล
ข.
แนวคิดเกี่ยวกับการพัฒนาฐานข้อมูล
ค.
การออกแบบรูปร่างและองค์ประกอบสำคัญของระบบฐานข้อมูล
ง.
โครงสร้างข้อมูลที่อธิบายรูปแบบ  และองค์ประกอบภายในระบบฐานข้อมูล
11.
สถาปัตยกรรมฐานข้อมูลระดับใดที่กำหนดรูปแบบข้อมูล ขนาดข้อมูล และความสัมพันธ์ของข้อมูล
ก.
ระดับภายนอก
ข.
ระดับแนวคิด
ค.
ระดับภายใน
ง.
ทุกระดับ
12.
สถาปัตยกรรมฐานข้อมูลระดับใดที่จัดเก็บข้อมูลในหน่วยเก็บข้อมูลจริง เกี่ยวข้องกับ 
โครงสร้างทางกายภาพของข้อมูล
ก.
ระดับภายนอก
ข.
ระดับแนวคิด
ค.
ระดับภายใน
ง.
ทุกระดับ
13.
สถาปัตยกรรมฐานข้อมูลใช้อธิบายองค์ประกอบหลักของระบบต่อไปนี้ ยกเว้นข้อใด
ก.
การติดต่อกับส่วนอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
ข.
การจัดเก็บข้อมูลในฐานข้อมูล
ค.
ความสัมพันธ์ของระบบหลัก
ง.
ข้อมูลภายในระบบฐานข้อมูล
14.
ข้อใดคือวัตถุประสงค์ของการแบ่งสถาปัตยกรรมฐานข้อมูลออกเป็น  3 ระดับ
ก.
ความอิสระของข้อมูล
ข.
ความสำคัญของข้อมูล
ค.
ความถูกต้องของข้อมูล
ง.
ความน่าเชื่อถือของข้อมูล


15.
ข้อใดคือความหมายของแบบจำลองฐานข้อมูล
ก.
แบบของการจัดระบบฐานข้อมูลให้มีความสัมพันธ์กันในทุกรูปแบบ
ข.
แบบของข้อมูลที่อยู่ในโครงสร้างและความสัมพันธ์ของข้อมูล
ค.
โครงสร้างและภาพของข้อมูลในเชิงตรรกะ
ง.
ข้อมูลที่มีอยู่ในฐานข้อมูลทั้งหมด
16.
ข้อใดคือคุณสมบัติของแบบจำลองฐานข้อมูล
ก.
เข้าถึงได้ง่าย
ข.
กำหนดผู้เข้าใช้
ค.
มีโครงสร้างซับซ้อน
ง.
มีกฎควบคุมความถูกต้อง
17.
โครงสร้างต้นไม้  เป็นแบบจำลองฐานข้อมูลในข้อใด
ก.
เชิงวัตถุ
ข.
เชิงสัมพันธ์
ค.
แบบลำดับชั้น
ง.
แบบเครือข่าย
 18.
จากรูปต่อไปนี้เป็นแบบจำลองฐานข้อมูลแบบใด
ก.
แบบลำดับชั้น
ข.
แบบเครือข่าย
ค.
เชิงสัมพันธ์   
ง.
เชิงวัตถุ


19.
ข้อใด คือความหมายของแบบจำลองฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์
ก.
นำเสนอข้อมูล และความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูลในรูปรีเลชัน    
ข.
นำเสนอข้อมูล และความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูลที่มีการเรียงลำดับหลายชั้น
ค.
นำเสนอข้อมูล และความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูลที่มีความสัมพันธ์แบบเชิงซ้อน
ง.
นำเสนอข้อมูล และความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูลที่มีการเรียงลำดับและแบบเชิงซ้อน
20.
ข้อใดคือลักษณะเด่นของแบบจำลองฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์
ก.
ผู้ใช้ต้องผ่านการอบรมการใช้ฐานข้อมูลก่อน
ข.
เหมาะกับองค์กรที่มีขนาดใหญ่ มีข้อมูลซับซ้อน                     
ค.
เหมาะกับงานที่เลือกดูข้อมูลแบบมีเงื่อนไขหลายคีย์ฟิลด์ข้อมูล                      
ง.
แก้ไขปรับปรุงแฟ้มข้อมูลได้ยากเพราะผู้ใช้จะไม่ทราบการเก็บข้อมูลในฐานข้อมูล